วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วิกฤตการณ์น้ำมัน

วิกฤตการณ์น้ำมัน
ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก พุ่งทะยาน จาก 129 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็น 135 ดอลลาร์ ในเวลาห่างกันเพียงวันเดียว โลกกำลังจะ เผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์น้ำมันโลกครั้งที่ 3 หรือเพียงแค่สร้างคลื่นภาวะเศรษฐกิจที่เรียกว่า Stagflation ให้แผ่ขยายไปทั่วโลก ราคาน้ำมันดิบในตลาด ณ วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (22 พ.ค.) เคลื่อนไหวอยู่เหนือ 135 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากทำสถิติที่ 135.04 ดอลลาร์ เมื่อค่ำคืนก่อน โดยไม่มีใครรู้ว่า แรงทะยานล่าสุด จะนำพาน้ำมันดิบไปไกลถึงระดับใด 140 ดอลลาร์ หรือ 150 ดอลลาร์ หรือ 200 ดอลลาร์ในอนาคตอันใกล้ ดังคำทำนายของ "โหรตลาดน้ำมัน" อาร์จัน มูรติ นักวิเคราะห์จากค่ายโกลด์แมน แซกส์ ตัวเร่งที่ทำให้ราคา น้ำมันดิบวิ่งไปเร็ว มาจากความต้องการจากประเทศผู้บริโภครายใหญ่ของโลก โดยเฉพาะจีน ซึ่งใน ขณะนี้เผชิญปัญหาขาดแคลนถ่านหิน และภัยพิบัติจากเหตุแผ่นดินไหว ต้องปิดโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าไปหลายสิบโรงชั่วคราว แต่ความต้องการพลังงานของจีนจะเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการแข่งขันโอลิมปิก กีฬาระดับโลก ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของประเทศ โอกาสที่การ นำเข้าน้ำมันจากระดับปกติอย่างมาก ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือแม้แต่ สหรัฐเอง ถึงสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปจะถูกตีตราว่าเป็นช่วงชะลอตัว จวนเจียนจะถดถอย แต่การบริโภคน้ำมันก็ยังมีในปริมาณที่มาก ประกอบกับนโยบายตุนน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐ ก็มีส่วนแม้จะมีความพยายามในระยะหลังๆ ให้ระงับการนำเข้าน้ำมันมาเติมในคลังสำรองก็ตาม
นอกจากนี้ ในตลาดน้ำมันมีปัจจัยครอบงำอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นกับแหล่งผลิตบ่อยครั้ง เริ่มจากไนจีเรีย ที่มักจะเผชิญกับการโจมตีฐานขุดเจาะน้ำมัน จากกลุ่มกบฏเป็นระยะๆ ไนจีเรีย มีความสำคัญต่อตลาดน้ำมัน เพราะเป็นแหล่งผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุด ในกาฬทวีป หรือความไม่สงบในอิรัก ที่ทำให้การผลิตน้ำมันจากประเทศนี้ลดน้อยลงไป ปัญหาการเผชิญหน้า ระหว่างสหรัฐ กับอิหร่าน เพิ่มอุณหภูมิความวิตกด้านผล กระทบต่ออุปทานให้โหมแรงยิ่งขึ้น เพราะอิหร่านเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่สุดของโลก หรือ โอเปก ที่มีการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ของกลุ่ม หากเกิดความรุนแรงใดๆ ขึ้นมา จะกระทบต่อการส่งออกจากประเทศนี้ทันที นับจากกันยายน 2544 ซึ่งช่วงนั้นราคาน้ำมันอยู่ที่ระดับ 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ปัจจุบัน ราคาน้ำมันกำลังวิ่งขึ้น ในลักษณะที่โกลด์แมน แซกส์ ทำนายว่า มีสิทธิเห็นน้ำมันที่ 150-200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ภายใน 6 เดือน-2 ปีข้างหน้า นับถึงระดับราคาปัจจุบัน ราคาน้ำมันพุ่งกระฉูดขึ้นกว่า 500% มองจากสภาพการณ์ ณ ปัจจุบัน คำทำนายเกี่ยวกับวิกฤตราคาน้ำมันครั้งที่ 3 กำลังดังชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ ย้อนมองอดีต ก่อนเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งแรก ราคาน้ำมันแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ในปี 2491 ราคาอยู่ที่ระดับเพียง 2.50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล 9 ปีต่อมา ราคาขยับขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในปี 2500 อีก 15 ปีต่อมา ราคายังคงที่ระดับ 3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
กระทั่งเกิดวิกฤตการณ์ครั้งที่ 1 ในปี 2515-2517 ราคาน้ำมันดิบโลกพุ่งทะยานขึ้นกว่า 300% ชนวนเหตุของวิกฤตราคาน้ำมันครั้งแรก เริ่มต้นเมื่ออียิปต์และซีเรียโจมตีอิสราเอล ในเดือนธันวาคม 2516 สหรัฐ และพันธมิตรตะวันตก รวมถึงญี่ปุ่น ยืนข้างอิสราเอล ขณะที่สมาชิกของโอเปก ซึ่งในช่วงเวลานั้น ยังมีเพียงซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน อิรัก อาบูดาบี คูเวต และกาตาร์ ตัดสินใจจำกัดการส่งออกน้ำมันดิบไปให้กับสหรัฐ เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส โรดิเซีย แอฟริกาใต้ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และอังกฤษราคา น้ำมันปรับเพิ่มจาก 3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขึ้นไป 17% เป็น 12 ดอลลาร์ ถือเป็นการพุ่งทะยานที่รวดเร็วมาก 300% ในเวลาเพียง 3 ปี กระทั่ง โลกย่างเข้าสู่วิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 2 จากจุดปะทุของสงครามอ่าวเปอร์เซียรอบแรก โดยมีชนวนมาจากการสงครามระหว่างอิรัก และคูเวต ในช่วงแรกของ วิกฤตการณ์น้ำมัน ราคาทะยานจากระดับ 13.55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในปี 2521 เพิ่มเป็นประมาณ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นประมาณ